กระแสของ Midjourney AI ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้โดยอาศัย Keywords ของคน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2022 นั้น เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงและใช้งาน AI ให้เป็นรูปธรรม ได้ดีมาก ๆ เหตุการณ์หนึ่งในยุคที่การเติบโตของ AI กำลังเป็นไปอย่างก้าวกระโดดนี้
ตัวอย่างภาพที่สร้างโดย Midjourney (ที่มา https://www.facebook.com/groups/midjourneyai/media)
Midjourney นั้นเป็น AI ที่อาศัยการระบุ Keyword ของ User ว่าต้องการให้สร้างภาพโดยมีรายละเอียด หรือ Reference จากอะไร แล้วระบบก็จะทำการนำ Keyword ที่ได้ไปผ่านกระบวนการ Mapping กับภาพที่น่าจะตรงกับคำนั้น ๆ และภาพ Reference ที่ได้มา Process ออกเป็นภาพ Final ซึ่งในบทความนี้ ผมจะขอไม่กล่าวถึงกระบวนการทางเทคนิคนะครับ แต่จะเน้นไปที่กระบวนการการสร้างงานศิลปะเมื่อเทียบกับคนแทน และเนื่องจากว่าเทคโนโลยีนั้น ยังไม่สามารถสร้างสรรค์งานที่มากกว่าไปกว่า 2D Art ได้ จึงขอเทียบกับกระบวนการสร้างงานประเภทเดียวกันก่อนนะครับ
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของคนเรานั้น มักจะมีที่มาที่ไป ทั้งอาจจะชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็ได้ โดยสุดท้ายแล้วการได้มาซึ่งผลงานที่เป็น Result นั้นต้องอาศัยทักษะที่สั่งสมมา ทั้งในแง่ของการตีความผนวกกับเทคนิคที่เรามีในฐานะศิลปินเพื่อสร้าง Output ที่เราหรือ End user พึงพอใจ งานศิลปะนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาพวาดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงาน Graphic อื่น ๆ และงานประเภทที่ต้องคำนึง UX/UI ได้เช่นเดียวกัน และด้วยนัยยะลักษณะนี้ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมจึงขอแจกแจงออกเป็นที่มาที่ไปของกระบวนการสองส่วนหลัก ๆ ดังนี้
1. การตีความ
ในมุมของงาน Art เราจะทำการตีความกลุ่มก้อนของ Idea หรือความคิดต่าง ๆ ทั้งที่ชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของรายการต่าง ๆ ที่ต้องทำให้ได้ โดนรายการต่าง ๆ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ Art Product ที่เราต้องทำการออกแบบหรือสร้างสรรค์ออกมา เช่น หากเราเป็นสถาปนิก เราก็อาจจะได้รายการของ Style และ Function ของอาคารออกมา หรือหากเราเป็น Web Designer เราก็อาจจะได้รายการของ UX ที่ต้องทำให้ได้ทั้งในมุมของ functional และ non-functional เป็นต้น
2. การสรรค์สร้าง
เมื่อได้มาซึ่งรายการแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการของการสรรค์สร้างผลงาน โดยอาศัยทักษะที่สั่งสมมาของศิลปินเพื่อให้ผลงานที่ได้นั้นออกมาเป็นที่พึงพอใจของ User มากที่สุด (User มีได้หลายประเภทตามความพึงพอใจนะครับ ขอละเอาไว้ในฐานที่เข้าใจ)
กระบวนการทั้งสองขั้นด้านบนนั้น เป็นเพียงกระบวนการแบบหยาบ ๆ ที่สามารถใช้ได้ในทุก ๆ งานที่เป็น Production โดย List นั้น อาจจะเป็นรายการความต้องการของลูกค้า และการ Create ผลงานนั้น ก็เป็นไปในเช่นเดียวกันกับการสร้างบ้าน Develop software หรือ การทำ Production ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน ทำให้เราสามารถมองเห็นกระบวนการทั้งหมดแบบคร่าว ๆ (Hi-Level) ได้ดังนี้
ทีนี้ด้วยภาพแบบคร่าว ๆ ด้านบนนี้แหละครับที่เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า Midhourney หรือ AI อื่น ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ตรงไหน ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วตามปกติ ณ ปัจจุบัน ศิลปินนั้นจะเจอกับเจ้าของ Idea ซึ่งที่นี้ผมขอใช้คำว่า "ลูกค้า" เป็นตัวแทนของ User ละกันนะครับ เพราะน่าจะเป็น Scenario ที่ชัดเจนดี จะมาเจอกันตรงกลางเพื่อทำให้กลุ่มก้อน Idea หรือความต้องการนั้นมีความชัดเจน ตกผลึก และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างได้มากที่สุด (อาจจะต้องถูกที่สุดด้วยในบางกรณี) จึงทำให้ Scope ของทั้งสองคนมีภาพ Concept ประมาณนี้
และเมื่อ Midjourney ได้เปิดตัวสู่สาธารณะนั้น ทำให้กระบวนการด้านบนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ต้องกล่าวก่อนว่า ณ วันนี้ ตัว Midjourney นั้น ยังไม่สามารถสร้างภาพที่สมบูรณ์สุด ๆ ได้ แต่ต้องถือได้ว่าประสิทธิภาพระดับนี้นั้น สามารถนำผลงานไปใช้ในบางงานได้แล้ว เช่น การใช้เป็นภาพประกอบการเล่าเรื่องต่าง ๆ หรือการใช้เป็น Material ในการสร้างโมเดลสามมิติต่อไป เป็นต้น ถึงแม้ว่าทั้งลูกค้าและศิลปินจะเข้าถึง AI ตัวนี้ได้ทั้งคู่ แต่ดูเหมือนว่าผู้ได้ประโยชน์จาก AI ตัวนี้จะเป็นฝั่งของ Client มากกว่า เนื่องจากด้วยแนวคิดเดิมทีที่ตัวลูกค้าเองนั้นขาดทักษะ (อาจจะเป็นเรื่องเวลา หรือปัจจัยอื่น ๆ ก็ได้) ทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานเองได้ จึงต้องมีศิลปินเข้ามามีบทบาทในการสร้างผลงานนั้น ๆ ได้รับ Midjourney ให้เข้ามาเสริมทักษะส่วนนี้ที่ขาดหายไป จึงอาจจะทำให้สัดส่วนของบทบาทหน้าที่ในการสร้างผลงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยผมคาดคะเนความเป็นไปได้ออกมาประมาณ 5 รูปแบบ หากเราเริ่มต้นด้วย Idea จากฝั่ง Client ก่อน และกระบวนการคร่าว ๆ นั้นไม่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
A. ยังคงบทบาทเช่นเดิม อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่งานมีความซับซ้อนสูง
B. Client มีบทบาทในขั้นตอนการสรรค์สร้างส่วนต้นด้วย เช่น การออกแบบ Concept หรือ การสร้าง Theme ของงาน
C. Artist ไม่มีบทบาทในการตีความ Requirement แล้วหาก Client สามารถระบุความต้องการที่ชัดเจนด้วยการเสนอ Virtual ของ End product ที่ต้องการได้
D. Artist เหลือบทบาทเป็นเพียงผู้ Finalize งานหรือทำการผลิต
E. Client สามารถสร้างผลงานได้เองทั้งหมดได้
โดยสรุปแล้ว ถึงจะยังไม่มีงานวิจัย หรือ Paper ที่ชัดเจนในเรื่องนี้ออกมา แต่ก็น่าจะเป็นที่เกือบแน่นอนแล้วว่า AI นั้นจะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันและงานของเราได้ในทุกมิติได้แน่นอน และหากเราอยู่ในจุดที่ไม่ใช่ผู้พัฒนา AI ทักษะในการเข้าใจการทำงานของ AI และการทำงานร่วมกับ AI นั้นจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาผลงานของเราอย่างแน่นอน
Midjourney AI กับงาน ART