5 ขั้นตอนการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data Driven Organization)

การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับทุกองค์กร เปรียบเสมือนการเดินโดยมีแผนที่บอกทาง ถ้าองค์กรไหนไม่มีข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ องค์กรนั้นก็เหมือนทำธุรกิจแบบตาบอด โดยการที่จะขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการดังนี้
2 ธันวาคม ค.ศ. 2022 โดย
Administrator

1. การเก็บข้อมูล (Collect Data)

การเก็บข้อมูลของแต่ละองค์กรนั้นมีการเก็บหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บในลักษณะเอกสาร, Hard Disk, Cloud, Database ฯลฯ

​ปัจจุบันการเก็บข้อมูลของแต่ละองค์กรนั้นมีการเก็บหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บในลักษณะเอกสาร, Hard Disk, Cloud, Database ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่ถูกเก็บในแต่ละฐานข้อมูลนั้น ล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การจัดเก็บข้อมูลควรทำให้ถูกต้องและมีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในการเก็บข้อมูลนั้นต้องคำนึงถึงรูปแบบข้อมูล ขั้นตอนการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เก็บข้อมูลแบบ Real Time หรือ ตั้งเป็นแบบ Cron Job ในการเก็บตามแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงฐานข้อมูลที่จัดเก็บว่ามีความเหมาะสมกับข้อมูลของเรามั๊ยร่วมด้วย เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

2. คุณภาพของข้อมูล (Data Quality)

การจะนำข้อมูลไปใช้ต่อนั้น ถ้าข้อมูลตั้งต้นไม่ถูกต้องหรือมีความผิดพลาดอยู่ จะไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้เลย หรือหากนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นไปใช้งาน ก็อาจเกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสารได้

​ในแต่องค์กรมักมีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก และมีหลากหลายรูปแบบตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอาจะมีความถูก/ผิดของข้อมูลปะปนอยู่ร่วมกัน ข้อมูลเหล่านี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องถูกทำความสะอาด (Cleansing Data) และจัดเก็บให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ควรจะเป็น เนื่องจากการจะนำข้อมูลไปใช้ต่อนั้น ถ้าข้อมูลตั้งต้นไม่ถูกต้องหรือมีความผิดพลาดอยู่ จะไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้เลย หรือหากนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นไปใช้งาน ก็อาจเกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสารได้ ​ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดของข้อมูลเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อให้ข้อมูลที่ออกมาเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ


การจะทำให้คุณภาพของข้อมูลเป็นข้อมูลที่ดีได้นั้น ต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้

  • ความครบถ้วนของข้อมูล (Completeness)
  • ความถูกต้องของข้อมูล (Validity)
  • ความเป็นเอกลักษณ์ของข้อมูล (Uniqueness)
  • ความสอดคล้องของข้อมูล (Consistency)
  • ความถูกต้องของช่วงเวลา (Timelines)
  • ความแม่นยำของข้อมูล (Accuracy)

3. เครื่องมือในการจัดการข้อมูล (Data Tools)

​​การที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้งานนั้น ต้องมีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลที่ดีและเหมาะสมกับข้อมูลที่นำมาใช้ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ มาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพแม่นยำมากขึ้น

​​การที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้งานนั้น ต้องมีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลที่ดีและเหมาะสมกับข้อมูลที่นำมาใช้ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ มาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพแม่นยำมากขึ้น อย่างเช่น Alteryx เป็น Tool ที่ช่วยในการ Cleansing ข้อมูล โดยการ input ข้อมูลของเราเข้ามาในโปรแกรม ทำการสร้างโมเดลขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น

4. การเข้าถึงข้อมูลและการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Access & Data Governance)

การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร

​​ปัจจุบันการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร (Enterprise Data Management) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในหลายองค์กร เนื่องจากความสำคัญของข้อมูลองค์กรนั้นยังคงเติบโตแบบทวีคูณ แผนการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร มักจะประกอบไปด้วย การปรับปรุงคลังข้อมูล (Data Warehouse) ที่มีอยู่ให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาใช้งานได้แบบทันท่วงที รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านดิจิตอล เช่น เพื่อให้รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร

5. สังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ (Data Knowledge Society)

​​Knowledge Management เป็นการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

​​Knowledge Management เป็นการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากที่เราได้มีการนำข้อมูลมาเก็บและทำการวิเคราะห์ต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วนั้น สุดท้ายต้องจัดทำ Knowledge Management System ขึ้นมาเพื่อที่จะบริหารจัดการองค์ความรู้ต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบ โดยมีกระบวนการในการบริหารจัดการเป็นขั้นตอน

​การจะทำ Data Driven Organization ให้เกิดขึ้นจริงได้ภายในองค์กร ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ไม่เพียงแต่ผู้บริหารเท่านั้น พนักงานระดับปฏิบัติการเองก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันและสร้างขับเคลื่อนเป็นอย่างมาก ในช่วงเริ่มต้นอาจจะยากในการปรับตัว แต่หากทำได้แล้วรับรองว่าองค์กรของคุณจะต้องได้ insight จากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้พัฒนา สร้างกลยุทธ์ให้กับธุรกิจอย่างแน่นอน 😊

Administrator 2 ธันวาคม ค.ศ. 2022
แชร์โพสต์นี้
แท็ก