ภาครัฐ
(Government)
ในยุคดิจิทัล หลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government e-Service) กล่าวคือ เป็นการจัดการบริการต่าง ๆ ของภาครัฐให้กับประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับประชาชนในการติดต่อและขอรับบริการจากภาครัฐ ซึ่งช่องทางดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วและประหยัด เนื่องจากประชาชนสามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ แทนการเดินทางมาติดต่อที่หน่วยงานหรือสำนักงาน ช่วยประหยัดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐต่าง ๆ ได้
นอกจากนี้ ภาครัฐยังสามารถชี้แจงและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเข้ารับบริการแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้งานทำรายการผ่าน e-Service ระบบจะบันทึกรายละเอียดทั้งหมดเก็บไว้ในรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดการตรวจสอบและประหยัดเวลาในการจัดทำเอกสารของเจ้าหน้าที่รัฐได้
GovTech ย่อมาจาก Government Technology คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการของภาครัฐ ครอบคลุมบริการสาธารณะต่าง ๆ เป็นการจัดการบริการภาครัฐผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของประชาชน รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างก้าวทันสถานการณ์ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในเข้าถึงบริการภาครัฐแบบโปร่งใส เปิดเผย ก้าวสู่การเป็น “รัฐบาลดิจิทัล” ได้อย่างเต็มตัว
GovTech เป็นระบบที่มีประโยชน์อย่างมากในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice การใช้ระบบ e-payment หรือ ระบบ e-self service การให้บริการประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการเฉพาะหน่วยงานแต่ละหน่วย ถือเป็นช่องทางที่ช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการจากภาครัฐได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประโยชน์จากการใช้ GovTech ในการบริหารจัดการภาครัฐ
เพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว
ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากระหว่างการติดต่อ มีการเชื่อมโยงงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเป็น “One Stop Service”
เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะ
ขยายขีดความสามารถของหน่วยงานในการให้บริการประชาชน สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้
ประชาชนสามารถติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีการเปิดเผยข้อมูล หรือเรียกว่า "ข้อมูลเปิดภาครัฐ" (Open Government Data of Thailand)
ลดการใช้ทรัพยากรและกระบวนการดำเนินงานภาครัฐ
การดำเนินงานมีความคล่องตัวมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีทำงานแทนมนุษย์ได้ ช่วยประหยัดงบประมาณและก่อให้เกิดความความคุ้มค่ามากขึ้น
ส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย
เกิดการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐทุกระดับให้เชื่อมโยงกัน สามารถนำข้อมูลในระบบ e-Service รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานไปใช้วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาประเทศได้
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
สร้างโอกาสทางการเรียนรู้ เพิ่มรายได้ และเพิ่มการเข้าถึงบริการของภาครัฐสำหรับประชาชนทุกคน
โครงการที่เราได้พัฒนา GovTech ให้กับหน่วยงานภาครัฐ
กรมประมง
ระบบการขึ้นทะเบียนชาวประมง
เพื่อการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนชาวประมงให้มีความถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้การบริหารจัดการด้านการประมงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่น ๆ เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน
ระบบการออกใบอนุญาตทําการประมงอิเล็กทรอนิกส์ (e–License)
ใช้ในการควบคุมการออกใบอนุญาตทําการประมงพาณิชย์ ใบอนุญาตทําการประมงนอกน่านน้ำไทย ใบอนุญาตทําการประมงพื้นบ้าน หนังสืออนุญาตให้ทําการประมงพื้นบ้าน การจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ การจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง และการออกหนังสือรับรองระหว่างกรมประมงกับกรมเจ้าท่าเกี่ยวกับเรือประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการทําประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบทะเบียนและบันทึกข้อมูลเรือประมงแบบบูรณาการ (Fishing Info)
ใช้ในการตรวจวัดขนาดเรือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาตทำการประมง การให้ผู้ครอบครองเรือที่มีทะเบียน แต่ไม่มีใบอนุญาตทำการประมงเคลื่อนย้ายเรือ และให้แจ้งจุดจอดและล็อกเรือ การให้เรือสนับสนุนการทำการประมงต้องทำการแจ้งเข้า-แจ้งออก ผ่านศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO)
ระบบการแจ้งเข้าแจ้งออกของเรือประมงแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-PIPO)
เราพัฒนาระบบเพื่อประมวลผลข้อมูลที่เชื่อมโยงจากระบบของกรมเจ้าท่า ซึ่งสามารถตรวจสอบ อนุมัติ เรียกดูรายงานการแจ้งเข้าแจ้งออกของเรือประมงไทย แจ้งเตือนการสุ่มตรวจเรือประมงไทยที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และแจ้งข้อมูลของเรือประมงไทยที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหรือมีพฤติการณ์น่าสงสัย รวมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบงานทะเบียนและบันทึกข้อมูลเรือประมงแบบบูรณาการ (Fishing Info) ระบบการออกใบอนุญาต (E-license) และระบบติดตามเรือประมงไทย (VMS)
ระบบการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับแรงงานต่างด้าว (Seabook)
ระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เจ้าของเรือประมงทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมเจ้าท่า สามารถลงทะเบียนยื่นคำขอออกหนังสือคนประจำเรือ ตรวจสอบข้อมูลคนประจำเรือที่เป็นแรงงานต่างด้าวได้ ครอบคลุมเรือประมงทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมเจ้าท่า ระบบจะช่วยในการออกหนังสือคนประจำเรือ จัดเก็บข้อมูลส่วนตัว และประวัติเกี่ยวกับการจ้างงานของแรงงานต่างด้าว พิมพ์เล่มหนังสือคนประจำเรือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานออกหนังสือคนประจำเรือให้เป็นมาตรฐาน เชื่อมต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแรงงานได้
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) สำหรับการออกใบอนุญาตทำการประมง
ปรับปรุงระบบการออกใบอนุญาตทำการประมงอิเล็กทรอนิกส์ (E-license) ของกรมประมง ให้เชื่อมโยงกับระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ระบบสารสนเทศบริหารงบประมาณ การเงินบัญชี และพัสดุ (PABI2.1)
ความต้องการใช้ซอฟต์แวร์ที่มากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานบางจุดที่ไม่สะดวกต่อการดำเนินการ จึงต้องการระบบสนับสนุนการทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
พัฒนาระบบการจัดการและประมวลผลข้อมูลเชิงแผนที่ (Map Repository System) พร้อมออกแบบและพฒนา UX (User Experience), UI (User Interface) และพัฒนา API ในการรับส่งข้อมูลรองรับขยายการพัฒนาเป็นต้นแบบงานเครื่องมือที่ทาง NECTEC สามารถนำมาดำเนินการพัฒนาปรับปรุงหรือประยุกต์ในการต่อยอดขยายงานได้ต่อไป
Map Repository Mobile Application
สามารถทำงานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ IOS
Map Repository Online Application
สามารถปรับเปลี่ยนขนาดของเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับการแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTECH)
ระบบฐานข้อมูล Web-based Application เผยแพร่ผลการศึกษาข้อมูลและศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มรถขนส่งผู้โดยสาร
ออกแบบโครงสร้างและรูปแบบฐานข้อมูลในระบบ Web-based พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานผ่าน Web Browser ได้
กรุงเทพมหานคร
ระบบศูนย์สอบการพัฒนาความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Skill)
พัฒนาระบบศูนย์สอบมาตรฐานในการสอบวัดความรู้ ความสามารถ ด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับบุคคลกากรของกรุงเทพมหานคร ช่วยในการประหยัดงบประมาณที่ต้องจัดส่งบุคลากรไปสอบวัดความรู้กับหน่วยงานภายนอก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สามารถรองรับการสอบวัดความรู้ของบุคลากรทั้งหมดได้ และเป็นการพัฒนาบุคลากรให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ฯ
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
โครงการพัฒนาระบบศูนย์บูรณาการข้อมูลท่องเที่ยวและกีฬา ระดับกระทรวง ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
ออกแบบระบบศูนย์บูรณาการข้อมูลท่องเที่ยวและกีฬาระดับกระทรวง เพื่อนำเสนอข้อมูลในภาพรวม เราทำการรวบรวมฐานข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ นำมาศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้เหมาะสมกับการแสดงข้อมูลในรูปแบบของแผนภาพ (Data Visualization) โดยใช้เครื่องมือ Tableau สามารถเรียกดูรายงานรูปแบบต่าง ๆ มากกว่า 50 รายงาน และมีการทำ Dashboard รวบรวมข้อมูลไว้แสดงให้กับผู้ใช้งานแต่ละหน่วย มากถึง 30 Dashboard สำหรับนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การทำงานของกระทรวงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กรมส่งเสริมการเกษตร
ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทะเบียนเกษตรร่วมกับข้อมูลเชิงแผนที่ (Spatial Database)
พัฒนาระบบที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับเกษตรกรไทยในระดับรายแปลงเพาะปลูก และการกำหนดนโยบายด้านการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ พร้อมทั้งจัดทำโมเดลในการคาดการณ์เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตของพืชเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และราคาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงทำโมเดลเสนอแนะในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยการใช้เทคโนโลยี Machine Learning (ML) เข้ามาช่วย
กรมการข้าว
ประมวลผลข้อมูลภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
รวบรวมและประมวลผลข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (อินทรีย์ 1 ล้านไร่) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 - 2562 ให้มีความถูกต้อง เป็นรูปแบบเดียวกัน สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ง่าย และเพื่อการบูรณาการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA)
ระบบควบคุมฟาร์มเกษตรอัจฉริยะสำหรับชุมชนบ้านธนบุรี
ระบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาและนำมาใช้ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ ตลอดจนเป็นการลดข้อจำกัดในด้านการปฏิบัติงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร
เราพัฒนาระบบ IoT สำหรับใช้งานในภาคการเกษตร ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งน้ำและจัดเก็บน้ำ ช่วยยกระดับการทำงานและสร้างแนวทางในการปลูกพืช การดูแลและการบริหารจัดการให้กับวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร สามารถนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสร้างมูลค่าให้กับสินค้า สร้างข้อได้เปรียบด้านการผลิต ลดข้อจำกัดในการทำงาน ลดขั้นตอน ช่วยสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นภายในชุมชนได้อย่างยั่งยืน
โครงการ การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะยกระดับเมืองอย่างยั่งยืน (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
แพลตฟอร์มระบบฐานข้อมูลการจัดการเรียนรู้ (Learning Management System : LMS)
ระบบสำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ โดยแสดงผลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และแท็บเล็ต บนระบบ IOS, Android และ Web Browser
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
โครงการบริการ Google Workspace
สนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและบริการข้อมูลสารสนเทศ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งบริหารจัดการความเสี่ยงของการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน
มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
อาจารย์พิเศษและวิทยากรรับเชิญ ในการบรรยายให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ประกอบการต่าง ๆ ฟัง และมีการนำ Odoo ERP เข้าไปเป็นสื่อสารเรียนการสอนในชั้นเรียน
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย