การบริหารทีมแบบไร้ผู้บริหาร วิธีการแบ่งทีมแบบ Holacracy

องค์กรของคุณมีการทำงานที่ต้องรอการอนุมัติเป็นลำดับขั้น ทำให้เสียเวลาในการทำงานไหม? มารู้จักการบริหารองค์กรแบบ Holacracy ทีมที่อยู้ไร้แม้ไร้ผู้บริหาร
20 เมษายน ค.ศ. 2023 โดย
Administrator

​โดยทั่วไปโครงสร้างภายในองค์กรที่เราพบเจอ มักจะเป็นรูปแบบโครงสร้างลักษณะ  Hierarchy Structure หรือแผนภูมิลำดับขั้น กล่าวคือ เป็นระบบสายการบังคับบัญชา การทำงานรูปแบบนี้เราพบเห็นได้ทั่วไป โดยมีการแบ่ง Level ตามลำดับ เช่น C-Level, Management, Senior ตามด้วย Junior เป็นต้น ​โดยที่ลำดับขั้นเหล่านั้น จะมีการแยกเป็นแต่ละแผนกหรือทีมตามที่ได้รับมอบหมาย รูปแบบการทำงานลักษณะนี้ จึงต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติ หรือมีลำดับในการทำงานตามความเป็น Seniority Level


แผนภูมิลำดับขั้น เป็นระบบสายการบังคับบัญชา การทำงานรูปแบบนี้เราพบเห็นได้ทั่วไป โดยมีการแบ่ง Level ตามลำดับ


​ซึ่งข้อดีของการทำงานลักษณะนี้ คือ ลำดับของการทำงานจะเป็นไปอย่างมีระบบ ระเบียบ มีผู้ที่มีประสบการณ์ มีบทบาทหน้าที่หรือตำแหน่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจน แต่รูปแบบการทำงานในลักษณะ Hierarchy Structure นั้น ก็มีข้อเสียเช่นกันคือ ในการบริหารจัดการจะต้องดำเนินการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ต้องมีการรออนุมัติจาก Level ระดับสูง ซึ่งสมาชิกในทีมจะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจได้อย่างคล่องตัว และขั้นตอนการรออนุมัติบางองค์กรก็ทำให้การทำงานของบุคลากรบางคนเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ

"Holacracy"
เป็นรูปแบบการทำงานยุคใหม่ที่ให้สิทธิ์แก่บุคลากรในแต่ละทีม

ให้สามารถตัดสินใจในการทำงานได้ โดยที่ไม่ต้องรอลำดับขั้นในการอนุมัติ

​ในกระบวนการการทำงานขององค์กรยุคใหม่นั้น ได้มีการนำหลักการทำงานของ Holacracy มาปรับใช้ภายในองค์กรอย่างหลากหลาย โดยเน้นเรื่องของการกระจายกลุ่มของทีมงานไปตามทีมต่าง ๆ ซึ่งโครงสร้างของ Holacracy ใน 1 องค์กรนั้น จะประกอบไปด้วยหลาย ๆ Holacracy


​ยกตัวอย่างเช่น องค์กรประกอบไปด้วยทีม C-Level, Development, Business และ People ในหนึ่ง Holacracy นั้น จะประกอบไปด้วยหลาย ๆ Role โดยที่พนักงาน 1 คน อาจมีหลายบทบาทหน้าที่ หัวหน้างานในแต่ละทีมสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรได้ตลอดเวลา ซึ่งจากรูปแบบการทำงานแบบเดิม ที่พนักงานแต่ละคนจะมีหน้าที่ที่ชัดเจนในองค์กร 


เป็นรูปแบบการทำงานยุคใหม่ที่ให้สิทธิ์แก่บุคลากรในแต่ละทีม ให้สามารถตัดสินใจในการทำงานได้ โดยที่ไม่ต้องรอลำดับขั้นในการอนุมัติ


​ในการทำงานรูปแบบ Holacracy จากเดิมที่ CEO จะมีหน้าที่ชัดเจน คือ หน้าที่ในการบริหารองค์กรเป็นหลัก อาจจะเปลี่ยนเป็น CEO มีหน้าที่หนึ่งอยู่ในทีม C-Level มี Role การทำงานเกี่ยวกับการบริหารงาน และมีอีกหน้าที่หนึ่งอยู่ในทีม New Product เพื่อคอยดูแลจัดการ Product ใหม่ ๆ ที่กำลังจะวางขายก็ได้ โดยในทีมนี้ CEO ก็จะมี Role เป็น Project Manager เป็นต้น


​การทำงานรูปแบบ Holacracy มีข้อดีคือ มีความคล่องตัวสูง เป็นการกระจายอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงานให้แต่ละทีมได้อย่างเต็มที่ รวมถึงพนักงงานในองค์กรจะได้ทำงานที่หลากหลายมากกว่าทำงานอย่างเฉพาะทางเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้การทำงานไม่น่าเบื่อ มีการกำหนด Goal ในการทำงานของแต่ละทีมอย่างชัดเจน ทำให้ถ้าไปอยู่ในทีมไหน ก็ให้ทำงานตาม Goal ที่ทีมนั้นตั้งไว้

​องค์กรจะเป็นโครงสร้างตามลักษณะ Hierarchy หรือ Holacracy ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งทั้งสองแบบก็มีข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกัน เราควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงสร้างและวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อให้พนักงานได้ทำงานอย่างมีความสุขและเกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีที่สุด

Administrator 20 เมษายน ค.ศ. 2023
แชร์โพสต์นี้
แท็ก