Blockchain (บล็อกเชน)
เทคโนโลยีแห่งโลกยุคดิจิทัล
จากเหตุการณ์ที่สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrencies) รวมถึงบิตคอยน์ (Bitcoin) มีบทบาทที่มากขึ้นในแวดวงธุรกิจ ทำให้ Blockchain ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์และการปฏิเสธอย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Blockchain กลับกลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจในเชิงบวก รวมถึงเป็นการปฏิวัติที่พลิกโฉมอุตสาหกรรม ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า และปฏิวัติความไว้วางใจในแวดวงธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจที่เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm shift**)** อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโอกาสและความท้าทายใหม่
นอกจากนี้ ยังเป็นการปลดล็อคสินทรัพย์กว่าล้านล้านดอลลาร์ที่ไม่มีสภาพคล่อง ตั้งแต่สินค้าที่จับต้องได้ไปจนถึงสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนคืนได้ จนเกิดกระแสรายได้ใหม่และเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุนและระดมทุน โดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการสร้างตัวแทนของทรัพย์สินต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลหรือที่เราเรียกกันว่า Tokenization ที่นับว่าเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่สำคัญที่สุดของ Blockchain ณ ปัจจุบัน
Tokenization คืออะไร?
แนวคิดเรื่อง Tokenization ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในความเป็นจริงระบบดังกล่าว มีการใช้งานมาเป็นเวลานาน อาทิเช่น ธนบัตร ดิจิตอล และเหรียญคาสิโน หรือหากอธิบายง่าย ๆ ตามคำจำกัดความของหอการค้าดิจิทัล (Chamber of Digital Commerce)
Digital tokens คือ “หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโอนได้ โดยสร้างขึ้นภายในเครือข่ายแบบกระจายศูนย์หรือที่เราเรียกกันว่า Blockchain Technology” นั้นเอง ซึ่ง Digital Tokens เหล่านี้ อาจเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ใด ๆ ในเศรษฐกิจปัจจุบันก็ได้ กล่าวโดยสรุปคือ การสร้าง Tokens หรือ “Tokenization” หมายถึง การแปลงสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงสินทรัพย์ในโลกดิจิทัล ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Tokens ที่สามารถจัดเก็บ ซื้อขาย และโอนผ่าน Blockchain หรือ Distributed Ledger Technology ได้
แล้วทุกท่านท่านสงสัยมั้ยว่า...
สินทรัพย์ประเภทใดบ้างที่สามารถทำให้อยู่ในรูปแบบของ Tokenization ได้?
Tokenization สามารถนำไปใช้หรือปรับเปลี่ยนได้กับสินทรัพย์เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นของที่สามารถจับต้องได้ หรือแม้แต่ของเสมือนก็สามารถที่จะเปลี่ยนเป็น Digital tokens ได้ โดยมีตัวอย่างตั้งแต่ศิลปะไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ หรือแม้กระทั่งเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับของบางอย่าง
โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. สิ่งของที่จับต้องได้ (Physical Assets)
และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น ของสะสม โลหะมีค่า เครื่องอุปโภคบริโภค และเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ
2. ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า (Medium of Exchange)
เช่น สกุลเงินต่างๆ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าในการแลกเปลี่ยน เช่น ทองคำ รวมถึงแต้ม (Point) หรือคะแนนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
เช่น ใบอนุญาต, สิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์, สัมปทาน และนวัตกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ที่สำคัญ (Key Benefits)
1. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operational Efficiency)
เมื่อมีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน รวมถึงไม่มีองค์กรภายนอกเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยน โอนถ่ายธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมจะลดลงเป็นอย่างมาก ขณะที่ผลลัพธ์แสดงถึงประสิทธิภาพที่การเพิ่มขึ้น ตัวอย่างการทำธุรการง่าย ๆ เช่น การโอนหรือการรับสามารถชำระได้ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งต่างจากเดิมที่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน นอกจากนี้ การดำเนินการสามารถทำได้แบบไร้พรมแดน และปราศจากข้อกำหนดที่กีดขวางทางกายภาพ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตัวกลางจากภายนอกถูกลดบทบาทลง ทำให้ความน่าเชื่อถือ (Trust) หรือความไว้วางใจกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผู้ใช้บริการต่าง ๆ
2. การถือครองกรรมสิทธิ์แบบสัดส่วน (Fractional Ownership)
ข้อดีอีกประการของการใช้ Blockchain คือ ความสามารถในการแบ่งสินทรัพย์ต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เสมือนหุุ้นแบบไม่จำกัดจำนวน ซึ่งทำให้เจ้าของสามารถดำเนินการแบ่งสินทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ ได้ จากกรณีดังกล่าว ทำให้เกิดประโยชน์สำคัญในการลดเกณฑ์สำหรับการลงทุนขั้นต่ำลง เพิ่มโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงตลาดการเงิน รวมถึงเพิ่มสภาพคล่องมาสู่ตลาดในหลาย ๆ ธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
3. ความโปร่งใส (Transparency)
สินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Assets) ที่ส่งต่อมาผ่าน Blockchain นั้นมีคุณสมบัติที่โปร่งใส เนื่องจากธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐาน Blockchain ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสาธารณะ สามารถตรวจสอบบันทึกข้อมูลที่เกิดย้อนหลังได้ รวมถึงระบบของ Blockchain ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบหรือแก้ไขธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ และสุดท้าย Blockchain ยังเป็น Open-source Software ดังนั้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกคนจึงสามารถดู Source-code หรือวิธีการนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้
4. ระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation)
นอกจากนั้น ในระบบของ Blockchain ยังมีการปรับใช้ Smart Contracts แทนการใช้งาน Workflow แบบดั้งเดิมในกระบวนการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Assets) เพื่อทำให้การประสานงาน รวมถึงการดำเนินการทางการเงินและธุรกิจต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
การปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Disruption)
ด้วยประโยชน์ในด้าน ๆ ของ Blockchain ทำให้มีกรณีตัวอย่างการใช้งาน (Use Cases) ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate), การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management), การเงิน (Finance) รวมถึงอุตสาหกรรมเกม (Gaming) ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีอุปสรรคสำคัญ เนื่องจากต้นทุนตั้งต้นที่สูงอย่างมีนัยยะ เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์การลงทุนประเภทอื่นๆ ทำให้การดึงนักลงทุนรายย่อยเข้ามาในระบบเป็นไปได้ยาก
แต่อย่างไรก็ตาม Tokenization สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการถือครองกรรมสิทธิ์แบบสัดส่วน (Fractional Ownership) ทำให้นักลงทุนรายใหม่หรือนักลงทุนรายย่อย มีโอกาสในการจะเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงในการลงทุนในภาพกว้าง
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
ปัญหาเกี่ยวกับ Supply Chains เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้หลายๆ บริษัทเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านต่อปี ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยา หากเวชภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ฉ้อฉลแทรกซึมเข้าไปใน Supply Chains ทำให้ธุรกิจเสียหายนับล้าน และอันตรายต่อถึงแก่ชีวิตของลูกค้า
อย่างไรก็ตามเงินดิจิทัล อย่างเช่น Non-Fungible Tokens (NFTs) ที่ไม่สามารถเกิดการเปลี่ยนได้ มีศักยภาพที่ทำให้ระบบ Supply chains Management มีความโปร่งใส (Transparency) ตั้งแต่ end-to-end ตรวจสอบความถูกต้องของระบบได้อยู่ตลอด ทำให้การบริหารระบบ (Supply chains Management) มีความปลอดภัยมากขึ้น
การเงิน (Finance)
การกระจายอำนาจทางการเงิน (Decentralized Finance) หรือที่เราเรียกกันว่า DeFi เป็นการพูดถึงแนวคิดของการสร้างระบบการเงินไร้ตัวกลางที่สามารถทำในสิ่งที่ระบบการเงินปัจจุบันหรือธนาคารทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสินทรัพย์ กู้ยืม ค้ำประกัน โอนสินทรัพย์ โดยเราจะเห็น Use cases ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การฝากเพื่อรับผลตอบแทน (Yield Farming) เพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity) ให้แก่ระบบจาก Protocol ต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนการลงทุนต่อปี (APY) ที่สูงกว่าการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมและเป็นแรงจูงใจให้กับการลงทุนให้กับนักลงทุนที่กำลังเผจิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) ในปัจจุบัน
เกม (Gaming)
สกุลเงินดิจิทัล (Digital Tokens) เป็นส่วนหนึ่งที่เห็นในอุตหสาหกรรมเกมมานานกว่าหนึ่งทศวรรษ โดยตัวอย่างที่เห็นได้อย่างตรงมาที่สุดคือ กรณีตัวอย่างการใช้ Cryptocurrency Tokens แทนสกุลเงินสำหรับการแลกเปลี่ยนในเกม นอกจากนั้น ยังเปลี่ยนไอเท็มหรือสินทรัพย์ภายในเกมให้อยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Assets) ได้ โดย Digital Tokens เพิ่มการเข้าถึงให้กับผู้เล่นทั่วโลก นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เล่นกับผู้เล่นเองในลักษณะ (Peer-to-Peer) ได้
Utility Tokens and Security Tokens
โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) จริง ๆ แล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกว้าง ๆ ได้แก่ Utility Tokens และ Security Tokens ซึ่งจากการทดสอบของ Howey Test ได้ระบุถึงว่า โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ถือว่าเป็นส่วนที่แยกออกมาจากเหรียญ (Cryptocurrencies ) ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ในการแลกเปลี่ยนหรือชำระเงินและมีเครือข่าย Blockchain ของตัวเอง ในขณะที่โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ถือว่าเป็นสินทรัพย์รองในระบบ Blockchain
ณ ปัจจุบัน โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ทั้ง Utility Tokens และ Security Tokens ส่วนมากถูกใช้ในการระดมทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับบริษัท Startups ทั่วโลก นับเป็นเม็ดเงินกว่าหลายพันล้านดอลลาร์
โดยโทเคนดังกล่าวมีรายละเอียดที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
Utility Tokens
โดยพื้นฐานโทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ในประเภทของ Utility Tokens จะให้สิทธิประโยชน์กับผู้ที่ถือครองเฉพาะบน Platform นั้น ๆ และถือได้ว่าเป็นกุญแจประเภทหนึ่งในเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการพิเศษ ตัวอย่างเช่น
- FIL (FileCoin) - อนุญาตให้ผู้ถือสกุลเงินดิจิทัล Tokens เข้าถึงที่เก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจ
- BAT (Basic Attention Token) - สกุลเงินดิจิทัล Tokens ใน Brave Browser ที่นักการตลาดดิจิทัลใช้เพื่อชำระค่าโฆษณา
- GNT (Golem) - อณุญาตให้ผู้ถือเช่าทรัพยากรคอมพิวเตอร์สำรองจากผู้เข้าร่วมเครือข่ายอื่นๆ หรือรับเงินสำหรับการยืมทรัพยากรของตนเอง
Security Tokens
ทางกลับกัน โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ในประเภทของ Security Tokens เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน หรือเป็นสินทรัพย์เพื่อใช้การในลงทุนที่สามารถซื้อขายได้ เช่น หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ธนบัตร รวมถึงสินทรัพย์ที่มีการจ่ายปันผล กำไร หรือดอกเบี้ย โดยส่วนมาก Security Token จะอยู่ภายใต้ข้อบังคับซึ่งต่างจาก Utility Tokens
โดยสรุปคือ สกุลเงินดิจิทัล Utility Tokens ให้สัญญากับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในขณะที่ Security Tokens จะให้ผลทางกำไร
What’s next?
ภายในทศวรรษหน้า เราคาดหวังที่จะได้เห็นวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำธุรกรรม การลงทุน การระดมทุนต่างๆ รวมถึงกรณีการใช้งานที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระบบดังกล่าวเติบโตและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างยั่งยืน จำนวนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบของ Tokenization ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยื่งในการขับเคลื่อนระบบนี้ต่อไป โดยมีปัจจัยสำคัญอยู่ทั้งหมด 2 ส่วน คือ
- ความน่าเชื่อถือ (Trust): นักลงทุนหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถมั่นใจได้ว่า สินทรัพย์ในรูปแบบดิจิตอล (Tokenized) สามารถแสดงถึงมูลค่าของทรัพย์สินได้จริง
- ระเบียบข้อบังคับ (Regulation): มีระเบียบข้อบังคับที่มีความชัดเจน รวมถึงการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อปกป้องทรัพย์สิน รวมถึงความปลอดภัยในเงินทุนของผู้ลงทุนต่าง ๆ
Asset Tokenization: Unlocking the Economy of Everything through Blockchain