โมดูลจาก OCA ที่น่าสนใจ สำหรับธุรกิจสุขภาพ (Healthcare)

หลายองค์กรเลือกใช้ Odoo ในการยกระดับธุรกิจ ในธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) Odoo ก็มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานสำหรับธุรกิจนี้โดยเฉพาะ มีโมดูลจาก OCA ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ตอบโจทย์การทำงาน สำหรับธุรกิจสุขภาพ ทั้งคลินิก โรงพยาบาล สถานพยาบาล และศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งช่วยเสริมศักยภาพการจัดการผู้ป่วย และการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมรองรับการเติบโตในยุคดิจิทัลอย่างเป็นระบบ
14 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 โดย
Roots Team

​ในยุคที่ธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ต้องรับมือกับข้อมูลจำนวนมหาศาล ความซับซ้อนของกระบวนการทำงาน และความคาดหวังด้านบริการที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระบบ ERP จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ เชื่อมโยงการทำงานระหว่างแผนก และลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานแบบแยกส่วน ในบทความนี้ เราได้คัดสรร 5 โมดูลจาก OCA ที่น่าสนใจและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจด้าน Healthcare เพื่อเสริมศักยภาพการทำงานในทุกมิติ แต่ก่อนที่จะไปดูว่ามีโมดูลไหนที่น่าสนใจบ้าง เรามาทบทวนความรู้กันก่อนว่า OCA คืออะไร 

OCA กับบทบาทในธุรกิจสุขภาพ (Healthcare)

OCA ย่อมาจาก Odoo Community Association เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่นักพัฒนา และผู้ที่สนใจในระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) อย่าง Odoo มาช่วยขยายขีดความสามารถของระบบ ERP ให้ครอบคลุมความต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย รวมถึงธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) ที่การดำเนินงานมีความซับซ้อน ต้องอาศัยระบบที่มีการจัดการข้อมูลที่แม่นยำ และมีการรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม

OCA (Odoo Community Association)

​OCA ช่วยให้ธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) สามารถเข้าถึงโมดูลที่ถูกออกแบบมาเฉพาะกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการผู้ป่วย การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ การนัดหมายต่าง ๆ ไปจนถึงการออกเอกสารทางการแพทย์ ทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบที่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ นอกจากนี้โมดูลจาก OCA ยังสามารถนำไปต่อยอด หรือปรับแต่งเพิ่มเติมให้ตรงกับความต้องการเฉพาะทางของแต่ละองค์กรได้

บทความแนะนำ:

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ได้ที่
OCA (Odoo Community Association) คืออะไร

โมดูลจาก OCA ที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจสุขภาพ (Healthcare)

​ชุดโมดูลพื้นฐานที่ถูกออกแบบมาสำหรับธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) โดยเฉพาะ เพื่อรองรับกระบวนการทำงานภายในคลินิก โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟีเจอร์หลักของ vertical‑medical

​มีฟีเจอร์หลักเป็นระบบบริหารงานสุขภาพแบบครบวงจร ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการงานในโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลได้เป็นอย่างดี  

  • การจัดการข้อมูลผู้ป่วย (Patient Management)
    เก็บข้อมูลส่วนตัว ประวัติการรักษา โรคประจำตัว และการแพ้ยา
  • การจัดตารางนัดหมาย (Appointments)
    วางแผนการนัดหมายกับแพทย์ ตรวจสอบตารางเวลา และแจ้งเตือนการนัดหมาย
  • การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล (Admission)
    เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ หรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิด
  • ใบสั่งยาและยา (Prescriptions & Medications)
    จัดการออกใบสั่งยาให้กับผู้ป่วย พร้อมรายละเอียดขนาด ปริมาณ และวิธีใช้
  • การตรวจแล็บ (Lab Test)
    ส่งตัวอย่างไปวิเคราห์ผลที่ห้องแล็บ (Laboratory) เช่น การตรวจเลือด หรือปัสสาวะ เป็นต้น

​โมดูล vertical‑medical เป็นตัวช่วยเสริมให้ Odoo จากที่ใช้งานแบบบริหารธุรกิจทั่วไป ให้เป็นระบบบริหารโรงพยาบาล ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk management: ERM) ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ โมดูลยังสามารถขยายและเชื่อมต่อกับระบบหลักของ Odoo ได้อย่างยืดหยุ่น สามารถนำไปปรับแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะกับการใช้งานจริงในแต่ละประเทศหรือองค์กรได้

vertical‑medical

​โมดูล Hospital Patient Portal Management เป็นโมดูลเสริมที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองผ่านพอร์ทัล (Portal) บนระบบ Odoo ได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และสะดวกสบาย โมดูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโมดูลในกลุ่ม vertical-medical สำหรับธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) โดยเฉพาะด้านการแพทย์และฝั่งโรงพยาบาล

ฟีเจอร์หลักของ Hospital Patient Portal Management

​เปิดสิทธิ์ให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองผ่านระบบออนไลน์ (โดยใช้ Odoo) เพื่อดูข้อมูลส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการรักษา

  • การเข้าสู่ระบบพอร์ทัลในฐานะผู้ป่วย (Patient Portal Login)
    ผู้ป่วยสามารถใช้บัญชี Portal เพื่อเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ ระบบมีการจำกัดสิทธิ์อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น ทำให้มั่นใจเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวได้
  • ดูประวัติการรักษา (Medical History)
    ผู้ป่วยสามารถดูประวัติการรักษา ผลตรวจ การวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ได้ สร้างความโปร่งใสและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเอง
  • ช่วยตรวจสอบการนัดหมาย (Appointments)
    แสดงประวัติรายการนัดหมายในอดีตและการนัดหมายที่จะเกิดขึ้น พร้อมยอกข้อมูลเกี่ยวกับการนัดหมาย เช่น วันที่และเวลา แผนก และแพทย์ผู้ทำการักษา เป็นต้น
  • การเข้าถึงใบสั่งยา (Prescriptions)
    ผู้ป่วยสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับยาที่เคยได้รับ คำแนะนำในการใช้ยา และวันที่รับยาได้ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลประกอบการเข้ารักษาในอนาคต
  • ดูผลตรวจ (Lab Test Results)
    ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อกับโมดูลที่เกี่ยวกับ Lab ผู้ป่วยสามารถดูผลตรวจแล็บออนไลน์ได้ เช่น เลือด ปัสสาวะ หรือผลวิเคราะห์ทางการแพทย์อื่น ๆ

​โมดูล Hospital Patient Portal Management เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเปลี่ยนข้อมูลที่กระจัดกระจายให้กลายเป็นบริการที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัยและมีความโปร่งใส ช่วยลดภาระเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย โดยโมดูลนี้ มักต้องใช้งานร่วมกับโมดูลอื่นในกลุ่ม vertical-medical เช่น medical, medical_appointment และ medical_lab เป็นต้น เพื่อแสดงข้อมูลทางการแพทย์ได้อย่างครบถ้วน

Hospital Patient Portal Management

​โมดูล Hospital Management in Odoo/OpenERP เป็นชุดโมดูลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการบริหารจัดการโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลแบบครบวงจร รูปแบบโอเพนซอร์ส (Opensource) ภายใต้โครงการ Medical Project ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก Odoo สำหรับใช้กับธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) โดยเฉพาะ

ฟีเจอร์หลักของ Hospital Management in Odoo/OpenERP

​ชุดโมดูลที่รวมเครื่องมือและฟีเจอร์สำหรับการบริหารงานโรงพยาบาลอย่างทั่วถึง โดยใช้ Odoo เป็นฐานข้อมูลกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ

  • จัดการข้อมูลผู้ป่วย (Patient Management)
    บันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย เช่น เลขประจำตัวประชาชน วันเกิด เพศ รวมถึงประวัติการรักษา โรคประจำตัว การแพ้ยา และรองรับการเชื่อมโยงผู้ป่วยกับแพทย์ประจำตัว
  • บริหารการนัดหมาย (Appointments)
    ระบบนัดหมายแพทย์และผู้ป่วย รองรับการจัดตารางเวลา ช่วยตรวจสอบความซ้ำซ้อนของการนัด และทำการแจ้งเตือนเมื่อใกล้ถึงวันที่ได้ทำการนัดหมายไว้ 
  • จัดการแพทย์และบุคลากร (Practitioner Management) 
    บริหารจัดการข้อมูลการทำงานของแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแทพย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ กำหนดตารางเวร เวลาเข้าออกงาน รวมถึงสามารถดูประวัติการรักษาและผลงานของแต่ละบุคลากรได้
  • บันทึกเวชระเบียน (Medical Records) 
    เก็บข้อมูลอาการป่วย การวินิจฉัย การจ่ายยา และผลตรวจต่าง ๆ โดยมีการเชื่อมโยงกับประวัติผู้ป่วยเพื่อให้สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ 

  • ระบบห้องพักผู้ป่วย (Inpatient Management)
    ตรวจสอบห้องพักหรือเตียงที่ยังว่าง ทำให้มองเห็นภาพรวมของวอร์ด ช่วยจัดการระยะเวลาการเข้าพัก ทำให้พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์มีเวลาไปโฟกัสกับการดูแลผู้ป่วยที่มากขึ้น
  • ห้องแล็บและผลตรวจ (Laboratory Management)
    จัดการการส่งตรวจและผลแล็บ โดยสามารถแนบผลตรวจเข้ากับเวชระเบียนของผู้ป่วยเพื่อให้แพทย์ดูประกอบการรักษาได้

  • ระบบสต็อกยา (Pharmaceutical Stocks) 
    ควบคุมสต็อกยา การสั่งจ่ายยา มีการเชื่อมโยงกับใบสั่งยา (Prescription) จากแพทย์เจ้าของไข้ ช่วยคำนวณต้นทุนที่ใช้ไป ทำให้ผู้บริหารมองเห็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น สามารถวางแผนการสั่งยาในอนาคตได้

โมดูลนี้เป็นโซลูชันระดับโรงพยาบาลเต็มรูปแบบ ครอบคลุมการจัดการ OPD, IPD, ห้องแล็บ, เวชระเบียน ไปจนถึงบุคลากรการแพทย์ เป็นระบบหลักสำหรับโรงพยาบาลที่ต้องการใช้ Odoo เป็นศูนย์กลางข้อมูล


​แม้ว่าโมดูล Hospital Management in Odoo/OpenERP และโมดูล vertical-medical จะมีฟีเจอร์การทำงานที่มีความคล้ายคลึงกัน ผู้ใช้งานควรพิจารณาฟีเจอร์ที่เหมาะสมกับขนาดองค์กร รูปแบบการทำงานของตน และความพร้อมของบุคลากร หากต้องการระบบที่มาช่วยจัดการงานในโรงพยาบาลแบบเต็มรูปแบบ ที่สามารถบริหารจัดการทุกแผนกได้ในระบบเดียว โมดูล Hospital Management in Odoo/OpenERP อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม หากต้องการระบบเริ่มต้นที่มีความยืดหยุ่น เหมาะกับคลินิกหรือสถานพยาบาลขนาดเล็ก-กลาง การเลือกใช้โมดูล vertical-medical อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า ซึ่งทั้งสองแนวทางสามารถต่อยอดได้ด้วยโมดูลเสริมจาก OCA และรองรับการพัฒนาเฉพาะทางตามความต้องการขององค์กร

Hospital Management in Odoo/OpenERP

​โมดูล CRM (Customer Relationship Management) และโมดูล Sales เป็นโมดูลหลักที่มีอยู่ใน Odoo ในเวอร์ชัน Community และ Enterprise อยู่ก่อนแล้ว ถึงแม้สองโมดูลนี้ จะไม่ได้ระบุเจาะจงว่าเป็นโมดูลที่ออกมาแบบสำหรับธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) โดยเฉพาะ แต่โมดูล CRM และโมดูล Sales เป็นโมดูลพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับทุกธุรกิจ รวมถึงธุรกิจสุขภาพที่ต้องจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือผู้ป่วยจำนวนหลายราย

โมดูลเสริมจาก OCA ที่น่าสนใจ ในกลุ่ม CRM & Sales

  • crm_lead_contact_creation
    ช่วยให้ระบบสามารถสร้างผู้ติดต่อ (Contact) หรือลูกค้าจากข้อมูลใน Lead ได้ง่ายขึ้น เมื่อมีการสร้าง Lead ใหม่เกิดขึ้น
  • crm_stage_probability
    เพิ่มความสามารถให้ CRM โดยกำหนดค่า “ความน่าจะเป็นในการปิดการขาย” (Probability) ในแต่ละ Stage ของ CRM ประเมินโอกาสในการปิดการขาย รวมถึงวิเคราห์ยอดขายที่คาดการณ์ (Forecast) ไว้ได้แม่นยำมากขึ้น
  • crm_deduplicate_by_name
    ช่วยตรวจสอบและจัดการกับ Lead หรือ Opportunity ที่ซ้ำกัน โดยดูจากชื่อ เพื่อป้องกันการสร้าง Lead ซ้ำ และช่วยลดข้อมูลขยะ (Data Redundancy) ใน CRM 

​ทั้งสามโมดูลนี้ จะเป็นตัวช่วยเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับทีมขายหรือทีมบริการลูกค้าในธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ที่ต้องติดตามลูกค้าให้โรงพยาบาล และต้องการระบบ CRM ที่สามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบและแม่นยำ ทำให้การให้บริการสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นมืออาชีพ

CRM stage probability

5. กลุ่มโมดูล Project & Timesheet

​โมดูล Project และโมดูล Timesheet เป็นโมดูลหลักของ Odoo อยู่ก่อนแล้ว แต่ก็มีโมดูลเสริมจาก OCA ที่เข้ามาช่วยเสริมการทำงานของทั้งสองโมดูลนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ที่มีการให้บริการตามชั่วโมงการทำงาน การบริหารจัดการงานตามเคสผู้ป่วบ การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ หรือคลินิกเฉพาะทางที่มีขั้นตอนการทำงานชัดเจน การติดตามเวลาทำงานและความคืบหน้าของงาน ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความคุ้มค่าทางธุรกิจ ทั้งสองโมดูลนี้ จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยจัดการงานเป็นระบบ ติดตามเวลาทำงานจริงของทีม และวิเคราะห์ต้นทุนได้อย่างแม่นยำแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้บริหารวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

โมดูลเสริมจาก OCA ที่น่าสนใจ ในกลุ่ม Project & Timesheet

  • project_task_default_stage
    กำหนดขั้นตอนเริ่มต้น (Default Stage) สำหรับ Task แต่ละประเภทใน Project เมื่อผู้ใช้งานมีการสร้าง Task ใหม่จากประเภทที่กำหนด ระบบจะตั้งค่า Stage ให้ตรงกับที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติ ช่วยลดขั้นตอนการตั้งค่า Task และลดความผิดพลาดจากการเลือก Stage ผิด
  • project_task_type_multi
    ทำให้ Task 1 รายการ สามารถมี Type ได้มากกว่าหนึ่ง เช่น Stages หรือ Pipelines เป็นต้น เหมาะสำหรับงานหนึ่งงานที่ต้องมีการดำเนินการเกี่ยวข้องหลายแผนกหรือหลายกระบวนการ รองรับการทำงานที่มีความซับซ้อน งานที่ต้องทำร่วมกันข้ามแผนก มีหลายฝ่ายเกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และแผนกเวชระเบียน
  • project_template
    สร้าง Template ของ Project เพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับสร้าง Project ใหม่โดยอัตโนมัติ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ เช่น Template สำหรับโปรแกรมดูแลผู้ป่วยแต่ละประเภท รวมถึง Task ต่าง ๆ ที่อยู่ใน Project นั้น ช่วยให้ประหยัดเวลาในการตั้งค่า Project ที่มีโครงสร้างซ้ำ ๆ และสามารถรักษามาตรฐานขั้นตอนการทำงานให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้

​ตัวอย่างทั้งสามโมดูลนี้ เป็นโมดูลจาก OCA ที่ช่วยให้การจัดการโครงการ (Project) และงานตามขั้นตอนใน Odoo เป็นระบบมากขึ้น เหมาะกับองค์กรที่ต้องการความแม่นยำ ความยืดหยุ่นในการทำงาน และมีมาตรฐานที่เซ็ตไว้ในการทำงานร่วมกันของทีม โดยเฉพาะในธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ในการตามเคสที่ต้องมีการประสานงานร่วมกันหลายฝ่ายในการดูแลคนไข้แต่ละเคส ช่วยให้แต่ละทีมทำงานเป็นระบบมากขึ้น

Project Template

​การเลือกใช้โมดูลจาก OCA อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ธุรกิจสุขภาพ (Healtcare) สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของการให้บริการผู้ป่วย การทำงานเป็นทีม และการตัดสินใจทางธุรกิจในภาพรวม การจะเลือกใช้โมดูลใดควรพิจารณาจากความต้องการใช้งานที่แท้จริงขององค์กร โดยโมดูลที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ สามารถพัฒนาและขยายต่อยอดได้ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละองค์กร ด้วยความยืดหยุ่นของ Odoo ERP ที่เป็นโอเพนซอร์ส (Opensource)


สนใจนำ Odoo ERP มาใช้ในองค์กร

Roots Team 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2025
แชร์โพสต์นี้
แท็ก