New Technology Adoption
ในวันที่เทคโนโลยีนั้นมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลี่อนธุรกิจ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ยากที่จะแยกขาดออกจากกันได้อย่างลำบากแล้ว หนึ่งในสิ่งที่เรามักจะทำอยู่เสมอคือ การเสาะหาว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ อันไหนที่สามารถนำมาซึ่ง Solution ที่จะทำให้เราขับเคลี่อนไปได้อย่างมีราบรื่นมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพิ่มโอกาสในการได้มาซึ่งรายได้ที่มากขึ้นอยู่เสมอ แต่การเสาะหาที่ว่านั้นก็มักจะเป็นปัญหาในตัวมันเอง เนื่องจากว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่มีการแข่งขันอย่างสูง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
Information technology (IT) spending forecast worldwide from 2012 to 2023, by segment
โดยการเติบโตดังกล่าวนั้น นำมาซึ่งความหลากหลายในหลายมิติไม่ว่าจะเป็น Solution, Hardware, Software, Vendor และหลาย ๆ เทคโนโลยีนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเวลา ความรู้เชิงลึก และ/หรือ การพัฒนาทางด้านวิศวกรรมที่จะมารองรับ Ecosystem นั้นเป็นอย่างมากในการพิสูจน์ความเป็นไปได้ในการใช้งานจริง เช่น Blockchain, Metaverse หรือ Edge Computing เป็นต้น
หนึ่งในแนวทางที่ทีม Roots เลือกใช้ในการพิจารณาการทำ New Technology Adoption ทั้งในมุมของการ Driven Business และการพัฒนา Solution ใหม่ ๆ เพื่อการบริการนั้น ได้แก่ การพิจารณาตามหลักการ Hype Cycle ที่ได้รับการวิเคราะห์จาก GARTNER โดยมีการแบ่ง Phase ของ Technology ออกเป็น 5 Phase บนกราฟรูปแบบเดียวกันกับ Dunning-Kruger Effect (หรือรู้จักกันในชื่อ ‘กราฟของคนโง่’ ) ดังนี้
Gartner Hype Cycle
1. Technology Trigger
เมื่อ Potential Technology ใด ๆ ที่ผ่านการทำ POC (Prove of Concept) และ Kick off ในมุมของการประกาศสู่สาธารณะแล้ว แต่มักจะยังไม่ถูกพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งาน
2. Peak of Inflated Expectations
เมื่อ Technology นั้น เริ่มได้รับหรือเริ่มสร้างเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวความสำเร็จด้านต่าง ๆ ของ Technology นั้น และได้รับความสนใจจากสื่อ และเป็นที่กล่าวถึงในสาธารณะอย่างมาก โดยเราจะเห็นจากกราฟได้ว่า Phase นี้นั้น จะนำ Product นั้น ๆ ไปสู่จุดสูงสุดของ Visibility (หรือง่าย ๆ คือมักจะเห็นมันบ่อย ๆ ตามสื่อต่าง ๆ)
3. Trough of Disillusionment
ส่วนมากแล้ว Technology ที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามนั้น อาจจะมีการกล่าวถึง Feature ต่าง ๆ ที่เกินจริงไป หรืออาจจะเกิดจากความคาดหวังของ Target user ที่มากเกินไป ทำให้เมื่อ Product นั้น ๆ ที่ผ่านการพัฒนาและทดสอบแล้ว จะนำมาซึ่งความผิดหวังในบาง Feature หรือผลลพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานนั้น โดยใน Phase นี้ ถือได้ว่าเป็นจุดต่ำสุดของ Visibility ที่ Product นั้น ๆ จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการ Kick off ไปแล้ว และนักพัฒนาหลาย ๆ คนก็มักจะเลือกที่จะหยุดการพัฒนาต่อที่ Phase นี้เช่นกัน
4. Slope of Enlightenment
หาก Product ใดสามารถผ่าน Phase ที่ 3 และสามารถทำการปรับตัวให้อยู่รอดได้นั้น ประกอบกับกาลเวลาที่เดินต่อไปจะทำให้ความเข้าใจในตัว ]เทคโนโลยีนั้นตกผลึก ทั้งในมุมมองของผู้พัฒนาและผู้ใช้บริการมากขึ้น อันจะเริ่มนำไปสู่การได้รับโอกาสในการขายมากขึ้น และ Technology นั้นก็มักจะได้รับการพัฒนาที่มีความเป็น Realistic มากขึ้น หรือเข้าสู่ Generation ถัดไปได้ราบรื่นมากขึ้น
5. Plateau of Productivity
ใน Phase สุดท้ายนั้นสะท้อนให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่มีความชัดเจนในการใช้งาน และเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นได้แล้ว และถ้าเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่ Product / Service ที่มีความเฉพาะทางมาก (Niche) ก็จะเริ่มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
เราจะสังเกตได้ว่าแนวคิดเรื่อง Hype Cycle นั้น ไม่ได้พูดถึงตัวเทคโนโลยีเอง ไม่ได้พูดถึงความสามารถในการพัฒนาของทีมงานเบื้อง แต่จะวิเคราะห์จากความน่าจะเป็น และแนวโน้มการอยู่รอดของ Technology นั้นจากข้อมูลของสภาพแวดล้อมของ Technology นั้นมากกว่า ถึงแม้บางข้ออาจจะมีความเป็นนามธรรมอยู่บ้าง และไม่ได้สะท้อนถึง Performance ของตัวเทคโนโลยีนั้น ๆ โดยตรง แต่เราก็สามารถใช้แนวคิดจากการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของเราได้
Ref.
https://www.linkedin.com/pulse/8-lessons-from-20-years-hype-cycles-michael-mullany
https://www.gartner.com/
Technology Hype Cycle