Policy Innovation
นวัตกรรมนโยบายที่ทำได้จริง
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยสถาบันวิทยาการนวัตกรรม หรือ NIA Academy ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดงาน 'Policy Innovation Recognition' ซึ่งเป็นเวทีเชิดชูเกียรติผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบายที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย ในการช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา
โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกให้กับนักเรียนศิษย์เก่าหลักสูตร Public and Private Chief Innovation Leadership (PPCIL) หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมสำหรับกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ภาครัฐและเอกชน รุ่น 1-6 เพื่อเป็นส่งเสริมและยกย่องบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตร PPCIL ให้นำเอาองค์ความรู้ ความสามารถด้านนวัตกรรมไปใช้ในการออกแบบ การสร้างนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติได้จริง ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาสังคมทั้งระดับองค์กรและประเทศ รวมถึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และการขยายผลการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบาย โดยการจัดงาน ‘Policy Innovation Recognition’ ถือเป็นการต่อยอดจากโครงการ PPCIL ที่มุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายและการบริหารจัดการระดับประเทศ ลงในระดับนโยบายทั้งระดับองค์กร สังคม และประเทศอย่างแท้จริง ภายในงานมีการเข้าร่วมประกวดชิงรางวัลกว่า 40 นวัตกรรมเชิงนโยบาย และได้รับการคัดเลือกเหลือเพียง 17 นวัตกรรม แบ่งป็น
- นวัตกรรมเชิงนโยบายระดับองค์กร จำนวน 4 รางวัล
- นวัตกรรมเชิงนโยบายระดับประเทศ จำนวน 13 รางวัล
ซึ่ง Smart PIPO ระบบตรวจสอบเรือและแรงงานประมงอัจฉริยะของกรมประมง ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท ทรีนิตี้ รูทส์ จำกัด ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเป็น 1 ใน 13 นวัตกรรม ที่ได้รับรางวัลการขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบายระดับประเทศ ถือต้นแบบของการนำเทคโนโลยีการใช้พัฒนากระบวนการทำการของภาครัฐในการให้บริการประชาชน
รางวัลนวัตกรรมเชิงนโยบาย ระดับองค์กร 4 นวัตกรรม ประกอบด้วย
- True Digital Park การสร้างและสนันสนุน Tech Startup Ecosystem ให้กลุ่มบริษัททรู และประเทศไทย
- Real Smart Innovation Lab การปฏิรูปกระบวนการทำงานด้วย AI และ Automation เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพองค์กร
- โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางทหารพื้นที่ Defense-related Industry Research Zone
- AIoT Innovation Park อุทยานนวัตกรรมด้าน AI และ IoT สถานที่ที่ช่วยพัฒนา ปรับปรุง Smart Solution ให้กับลูกค้าแบบครบวงจร
รางวัลนวัตกรรมเชิงนโยบาย ระดับประเทศ 13 นวัตกรรม ประกอบด้วย
- โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี Cyber Vaccinated สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- Regional Entrepreneurial Management Trainee (REMT) มุ่งเน้นการให้ผู้ประกอบการได้ทำงานร่วมกับนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจากกว่า 10 ประเทศ และ 40 มหาวิทยาลัยทั่วโลก
- Saturday School มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์
- นโยบายเยาวชนเพื่อเยาวชนโดยเยาวชน-สุขภาพจิตเยาวชน Thailand Policy Lab, UNDP
- Thailand Coffee Fest และ Thailand Rice Fest บริษัท Cloud & Ground Co, LTD
- Smart PIPO ระบบตรวจสอบเรือและแรงงานประมงอัจฉริยะ
- การสร้าง New S-Curve ให้กับประเทศ
- โครงการพัฒนานักศึกษาและอาจารย์อาชีวะศึกษารุ่นใหม่ สู่เทคโนโลยีแห่งอนาคต
- HOPE Task Force: ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย
- Policy Watch จับตาอนาคต ประเทศไทย
- สร้างโอกาส SME ไทยสู่สากลผ่านเครือ CP การพัฒนาและนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อความยั่งยืน
- กรณีศึกษา ARI Verse (Metaverse)
- EGAT EV Business Solutions/นวัตกรรมด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Smart PIPO ระบบตรวจสอบเรือ
และแรงงานประมงอัจฉริยะ
วัตถุประสงค์:
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมการทำประมงและแรงงานบนเรือในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นโดย บริษัท ทรีนิตี้ รูทส์ จำกัด เพื่อช่วยแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) และเพิ่มความโปร่งใสในการจัดการข้อมูลของเรือและแรงงานประมงให้กับกรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดทิศทางและนโยบาย และการผลักดันการใช้นวัตกรรมในระดับประเทศ:
ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน เช่น กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมการจัดหางาน ได้กำหนดทิศทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการประมงอย่างยั่งยืนและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมเรือประมง โดยมีการเน้นถึงการป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของประเทศ โดยได้เปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆของภาคส่วนต่างๆ เพื่อกำหนดนโยบาย ประสานงานและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้นวัตกรรมนี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการประมงในระดับประเทศ เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริงและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดโครงการ:
บริษัท ทรีนิตี้ รูทส์ จำกัด ได้พัฒนา Smart PIPO โดยนำแพลตฟอร์ม Odoo ERP และแอปพลิเคชัน Line Official มาใช้เป็นฐานข้อมูล สำหรับบันทึกและจัดการข้อมูลการตรวจสอบเรือและแรงงานในรูปแบบดิจิทัล ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถบันทึกผลการตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน Line ที่รองรับการใช้งานผ่าน Smart phone ทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ซึ่งระบบนี้ช่วยให้สามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ลดความซ้ำซ้อนในการกรอกเอกสารและลดต้นทุนการจัดทำเอกสารกว่า 400,000 บาท ต่อปี
ผลประโยชน์ที่คาดหวัง:
ระบบนี้ช่วยให้กรมประมงสามารถเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจสอบเรือและแรงงาน ลดปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมายและการทำประมงที่เกินขนาด ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและขยายการส่งออกสินค้าประมงไปยังตลาดต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ลดการใช้เอกสารกว่า 594,789 แผ่นต่อปี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย:
เพิ่มความโปร่งใสในการจัดการข้อมูล ลดปัญหาการทุจริตในภาคประมง และสร้างความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรทางทะเล โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการทำงานของกรมประมงและสร้างมาตรฐานใหม่ในการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย
ดูโซลูชันเพิ่มเติมของรูทส์เกี่ยวกับภาครัฐ ได้ที่
นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ ในหัวข้อ “แนวทางการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางในการสร้างสรรค์นโยบายเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ผศ.นิอร สิริมงคลเลิศกุล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านน, นางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ Thai PBS และสมาชิก PPCIL รุ่น 1-6 ที่มาร่วมกันคิดออกแบบนวัตกรรม เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา และการป้องกันภัยพิบัติ จ.เชียงราย และพื้นที่ภาคใต้ต่อไป โดยภายในงานมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเข้าร่วมงาน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางในการสร้างสรรค์นโยบายเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Roots พา "Smart PIPO" ระบบตรวจสอบเรือและแรงงานประมงอัจฉริยะ รับรางวัลนวัตกรรมเชิงนโยบายระดับประเทศ