ESG แนวทางวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนเพื่อการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน

การทำธุรกิจยุคใหม่ตามแนวทาง ESG เป็นสิ่งที่ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม ธุรกิจยุคใหม่ควรเรียนรู้แนวทางวิเคราะห์ความเสี่ยงในการลงทุนตามหลัก ESG เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน
28 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 โดย
Administrator

​สัปดาห์ที่ผ่านมา Roots ได้มีโอกาศเข้าร่วมโครงการ “ESG to Capital For Tech Entrepreneurs” จากทาง AIS The Startup เพื่อเตรียมความพร้อมธุรกิจสู่ตลาดทุนในยุค ESG Transition


​เราได้เรียนรู้แนวทางวิเคราะห์ความเสี่ยงในการลงทุนตามหลัก ESG พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นใหม่ ๆ ร่วมกันกับเหล่าผู้ประกอบการในการสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ประเมินความเสี่ยงและปรับตัวให้ทันตลาดทุน เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน


เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจคือ การเติบโตอย่างยั่งยืน

งาน ESG To Capital For Tech Entrepreneurs จาก AIS the StartUp

ESG เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ

การพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน

​หากพูดถึงเทรนด์การลงทุนที่ไม่ว่าธุรกิจไหนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญไม่น้อยเลยกับกลยุทธ์ ESG การบริหารธุรกิจควบคู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยง 3 มิติ ที่ผู้ประกอบการจะต้องรีบปรับใช้ให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ ESG จะช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนให้กับบริษัท พร้อมสู่การลงทุนในตลาดโลก

ESG คืออะไร?​

ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดย ESG ย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นกลยุทธ์สำคัญที่รู้จักกันเป็นวงกว้างในกลุ่มนักลงทุนและบริษัทต่าง ๆ ในแวดวงการเงิน ที่นักลงทุนจะใช้เป็นกรอบเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุนที่มากกว่าแค่เรื่องการสร้างฐานลูกค้า


ในปัจจุบันมีหลาย​บริษัทต่างนำ ESG มาเป็นหลักปฏิบัติในการบริหารงานที่มีความรับผิดชอบกับนักลงทุน นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในการดำเนินงานของบริษัทแบบยั่งยืน และในขณะเดียวกันทางด้านของนักลงทุนเองก็ใช้ ESG เป็นหลักในการพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนด้วย

​ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว

หลักการ ESG มีทั้งหมด 3 ปัจจัย คือ​

1. Environmental : สิ่งแวดล้อม

​การดำเนินการธุรกิจที่คำนึงความรับผิดชอบของบริษัทต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาจได้รับผลกระทบจากการทำธุรกิจ ด้วยการประเมินความเสี่ยงและจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ และลดผลกระทบให้น้อยที่สุด รวมถึงการฟื้นฟูอีกด้วย เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก  การปล่อยมลพิษ การผลิตของเสีย การลดการใช้กระดาษและไฟฟ้า การรีไซเคิล หรือการจัดการกับพลาสติก เป็นต้น

2. Social : สังคม

การจัดการความสัมพันธ์กับพนักงาน คู่ค้า รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม ใส่ใจสังคมและชุมชนรอบที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้โอกาสพนักงาน ผู้ที่ด้อยโอกาสและผู้พิการ ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมและยืนหยัดในสังคมได้ มีการพิจารณาเวลาทำงานและค่าแรงที่เป็นธรรม เป็นต้น

3. Governance : ธรรมาภิบาล

​การควบคุมดูแลเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจที่สามารถตรวจสอบได้รอบด้าน บริษัทมีการจัดการกำกับดูแลอย่างไร เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ เช่น การตรวจสอบข้อมูลไซเบอร์ที่มีความปลอดภัยเปิดเผยได้ ต่อต้านการฉ้อโกงและการทุจริต เป็นต้น

​ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดย ESG ย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล)

​ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์และหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ได้กำหนดให้ธุรกิจหรือบริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน ESG อย่างโปร่งใส เพื่อให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ESG จะกลายเป็นกติกาใหม่ในการทำธุรกิจ

​​แนวคิด ESG ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การขับเคลื่อนธุรกิจเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมก็ยังเป็นหน้าที่ของทุกคน ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงต้องร่วมมือกัน บริษัท ทรีนิตี้ รูทส์ จำกัด เราได้ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ดี และจะมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรภายใต้แนวคิดของ ESG ต่อไป

งาน ESG To Capital For Tech Entrepreneurs จาก AIS the StartUp

Administrator 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้