ในยุคปัจจุบัน การมีกลยุทธ์และแผนงานที่ดีสำหรับธุรกิจอาจยังไม่เพียงพอต่อการแข่งขัน การจะทำให้ธุรกิจเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้นั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการบริหารจัดการงานด้วย ในธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) อย่างโรงพยาบาลหรือคลินิก ก็มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการทำงานหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ "ระบบ HIS" แล้ว HIS คืออะไร เรามาหาคำตอบได้ที่บทความนี้กัน
Table of Contents : เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ตรงนี้เลย
ทำความรู้จักกับระบบ HIS
(Hospital Information System)
HIS คืออะไร
ความสำคัญของระบบ HIS
การนำระบบ HIS มาใช้ ไม่ได้ช่วยเพียงแค่เพื่อความทันสมัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการวางรากฐานให้กับระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น ระบบ HIS จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ลดความผิดพลาดในการรักษา และเพิ่มความเร็วในการให้บริการ รวมถึงสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเป็นปัจจุบัน
องค์ประกอบหลักของระบบ HIS
ระบบ HIS ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักหลายส่วนที่ทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในทุกระดับของโรงพยาบาลให้เป็นไปอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้

ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Medical Records - EMR)
หัวใจสำคัญของ HIS คือ ระบบ EMR (ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์) ที่ช่วยเก็บข้อมูลผู้ป่วยแบบดิจิทัลอย่างปลอดภัย ตั้งแต่ประวัติการรักษา ผลตรวจทางห้องแล็บ ไปจนถึงการวินิจฉัยและแผนการรักษา ช่วยให้ทีมแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด และยกระดับการดูแลแบบรายบุคคล

ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล
ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลหรือคลินิก มีฟังก์ชันการลงทะเบียน จัดตารางนัดหมาย ตรวจสอบสิทธิ์การรักษา และการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล ช่วยให้การดำเนินงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบบริหารเวชภัณฑ์และยา
ระบบนี้จะช่วยในการติดตามการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งแจ้งเตือนระดับสต็อก ทำให้ลดการสูญเสีย ลดต้นทุน และป้องกันการจ่ายยาผิดพลาด

ระบบการเงินและประกันสุขภาพ
จัดการข้อมูลการเงิน ค่ารักษาพยาบาล ครอบคลุมทั้งการออกใบเสร็จ การประมวลผลค่าใช้จ่าย การเรียกเก็บเงินกับบริษัทประกัน และการส่งข้อมูลการเบิกจ่ายตามสิทธิ์ ช่วยให้การบริหารทางการเงินแม่นยำและตรวจสอบได้
ประโยชน์ของระบบ HIS ต่อโรงพยาบาลและผู้ป่วย
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย
ข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ช่วยลดการใช้เอกสาร ลดเวลาในการค้นหาข้อมูล และเพิ่มความแม่นยำในการให้บริการ
ลดข้อผิดพลาดในการรักษาและจ่ายยา
ระบบ HIS สามารถแสดงประวัติการแพ้ยา แจ้งเตือนการให้ยาที่อาจขัดกัน และตรวจสอบคำสั่งแพทย์ได้อย่างเป็นระบบ ช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจาก Human Error
อำนวยความสะดวกให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
ช่วยให้ทีมแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ทุกที่ทุกเวลา สนับสนุนการวินิจฉัย การออกคำสั่งรักษา และการติดตามผลการรักษา
ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วย
ระบบจะช่วยลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย เพิ่มความแม่นยำในการนัดหมาย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าข้อมูลของตนได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว
ตัวอย่างฟีเจอร์ที่สำคัญของระบบ HIS

การลงทะเบียนและนัดหมายออนไลน์
ผู้ป่วยสามารถลงทะเบียนล่วงหน้า จองคิว และตรวจสอบเวลานัดหมายได้ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยลดความแออัดในจุดบริการที่โรงพยาบาล ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องมารอที่หน้างานนาน สามารถคำนวณระยะเวลาในการเดินทางและมาพบแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

การเชื่อมต่อกับห้องแล็บและเอ็กซเรย์
ช่วยให้แพทย์สามารถดูผลตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ทันที โดยไม่ต้องรอเอกสาร ลดความล่าช้าในการดำเนินงาน ลดการใช้กระดาษ และช่วยเพิ่มความต่อเนื่องในการรักษา ให้สามารถทำได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การบันทึกและติดตามเวชระเบียน
ระบบไม่เพียงแต่ช่วยเก็บข้อมูล แต่ยังสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการ แสดง Timeline ในการรักษา และสามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ในโรงพยาบาลได้อย่างครอบคลุม ไร้รอยต่อ ช่วยให้การทำงานราบรื่นมากยิ่งขึ้น

การออกใบสั่งยาและจัดการสต็อกยาอัตโนมัติ
แพทย์สามารถสั่งยาและตรวจสอบข้อมูลของยาได้ทันทีด้วยระบบบริหารสต็อกยาอัตโนมัติ ระบบนี้จะช่วยแจ้งเตือนสต็อกยา ลดของเสีย ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถควบคุมงบประมาณได้ดียิ่งขึ้น
ความท้าทายของโรงพยาบาลและคลินิก ในการนำระบบ HIS มาใช้
การนำระบบ HIS (Hospital Information System) มาใช้ในโรงพยาบาลและคลินิก ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่ยุคดิจิทัล แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็เต็มไปด้วยความท้าทายหลากหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น
ค่าใช้จ่ายและงบประมาณ
ในการพัฒนาระบบ HIS ต้องใช้ทรัพยากรทั้งทางเทคนิคและบุคลากรจำนวนมาก โรงพยาบาลต้องประเมินความคุ้มค่าในระยะยาวและวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ
การวางโครงสร้างระบบ
ต้องมีการวางโครงสร้างระบบให้เหมาะสมกับขนาดและรูปแบบการให้บริการของแต่ละแห่ง บางโรงพยาบาลมีระบบที่ใช้งานอยู่แล้ว การเชื่อมต่อหรือเปลี่ยนมาใช้ระบบ HIS ใหม่ อาจมีความซับซ้อนของการติดตั้งและบูรณาการกับระบบเดิมเข้ามาร่วมด้วย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานเดิม และต้องการอบรมบุคลากรให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย
การจะเปลี่ยนมาใช้ระบบ HIS หรือต้องย้ายการระบบ จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และการจัดการข้อมูลที่ต้องปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกฎหมาย การปกป้องข้อมูลผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญอย่างสูง ระบบต้องผ่านการออกแบบตามมาตรฐานความปลอดภัย เช่น HIPAA หรือ ISO เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้การเปลี่ยนผ่านต้องอาศัยการวางแผนที่รอบคอบและความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร
บทสรุป
ระบบ HIS (Hospital Information System) คือระบบสารสนเทศที่ช่วยบริหารจัดการข้อมูลภายในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ ระบบ HIS จึงไม่ใช่เพียงเครื่องมือทางเทคโนโลยี แต่เป็นตัวเร่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและยกระดับโรงพยาบาลให้พร้อมรับมือกับความท้าทายของโลกสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากโรงพยาบาลหรือคลินิกต้องการนำ HIS ไปใช้ ควรเริ่มจากการประเมิน วิเคราะห์ถึงความต้องการภายใน วางแผนระบบให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานเดิม เลือกระบบที่เหมาะสมกับบริบทการทำงาน และเลือกผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ พร้อมทั้งอบรมบุคลากรให้พร้อมใช้งาน เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่นและยั่งยืน
ระบบ HIS (Hospital Information System) คืออะไร